Blood Lactate in Freediver การสะสมแลคเตตในเลือดของนักฟรีไดฟ์

Blood Lactate in Freediver การสะสมแลคเตตในเลือดของนักฟรีไดฟ์

นักฟรีไดฟ์หลายๆ คนอาจจะเคยพบกับสภาวะกล้ามเนื่อล้าเวลาที่คุณฝึก Dynamic ในสระใช่มั้ยคะ พอกล้ามเนื้อล้าแล้วเหมือนกับเราจะตีฟินไม่ค่อยไปแล้ว สาเหตุของกล้ามเนื้อที่ล้านั้นเป็นเพราะว่าในเลือดของเรามีการสะสมของ Lactate เป็นจำนวนมากกว่าที่ร่างกายใช้

Lactate เป็นผลิตผลที่เกิดจากการสังเคราะห์พลังงานด้วยกระบวนการ Glycolysis แบบเร็วโดยที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจน กระบวนการนี้เกิดขึ้นในเซลล์กล้ามเนื้อ ในขณะที่เซลล์กล้ามเนื้อสังเคราะห์พลังงาน ATP ออกมาจะได้แลคเตตเป็น ผลิตผลปลายทาง แล้วแลคเตตที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาจะแพร่เข้าสู่กระแสเลือด กลายเป็น Blood lactate และถูกส่งไปยังตับ แล้วจะถูกนำไปใช้เป็นตัวตั้งตั้นของกระบวนการ Glycolysis แบบใช้ออกซิเจนเพื่อผลิตพลังงานต่อไป

(Glycolysis คือ กระบวนการสังเคราะห์พลังงานของเซลล์ ซึ่งมีทั้งแบบที่ใช้ ออกซิเจน และแบบที่ไม่ใช้อ๊อกซิเจน)

ดังนั้นจริงๆ แล้ว แลคเตตไม่ได้เป็นของเสียจากการออกกำลังกายอย่างหนักเหมือนที่หลายๆ คนเข้าใจนะคะ แต่การที่ร่างกายอยู่ในสภาวะที่มีอ๊อกซิเจนต่ำ ทำให้กล้ามเนื้อต้องผลิตพลังงานออกมาในรูปแบบที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจน และมีแลคเตตเป็นผลิตผลในปริมาณมาก ดังนั้นในกีฬาฟรีไดฟ์จึงถือว่าเป็นก๊ฬาที่มีการผลิตแลคเตตออกมามากกว่ากีฬาประเภทอื่นๆ

งานวิจัยต่างประเทศ ได้ศึกษาปริมาณแลคเตตที่พบในนักกีฬาฟรีไดฟ์แต่ละประเภท พบว่าประเภท Constant Weight No Fin (CNF) มีการสะสมแลคเตตมากที่สุด รองลงมาคือ Constant Weight (CWT) และที่น้อยที่สุดคือ Static Apnea (STA) https://www.researchgate.net/publication/323991633_Blood_lactate_accumulation_during_competitive_freediving_and_synchronized_swimming

 

นักฟรีไดฟ์ที่ต้องการให้ร่างกายมีความทนทานต่อ แลคเตตได้มากขึ้น หรือเพิ่มค่า Lactate Treshold (LT) นั้น ควรจะหมั่นออกกำลังกายแบบที่กล้ามเนื้อไม่ใช้อ๊อกซิเจนในการสังเคราะห์พลังงาน หรือ Anaerobic Exercise เช่น เวทเทรนนิ่ง ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อมีค่า LT สูงขึ้น หรือมีอาการล้าของกล้ามเนื้อช้าลงนั่นเอง

แต่ในฐานะนักกีฬาฟรีไดฟ์ที่ต้องการทั้งความอึด ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกาย เราจึงต้องหมั่นออกกำลังกายให้ครบทั้งสามรูปแบบ ได้แก่

  1. การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic exercise) เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เต้น จะช่วยให้หัวใจแข็งแรง ทำให้ไม่เหนื่อยเร็ว เพิ่มความอึด
  2. การออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic exercise)เช่น เวทเทรนนิ่ง ยกน้ำหนัก จะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ล้าง่าย
  3. การออกกำลังกายแบบยืดหยุ่น (Stretching) เช่น โยคะ พิลาทิส จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

แต่การหักโหมออกกำลังหนัก ก็จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่เป็นของเสียจากการเผาผลาญพลังงานด้วยนะคะ ดังนั้นใครที่ออกกำลังกายหนักๆ อย่าลืมทานสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อชะลอความเสื่อมของเซลล์หรือความชรากันด้วยนะจ๊ะ

สนใจเรียนดำน้ำโทร 0922419266 LINE @zanookdive (มีแอดด้วยนะคะ) หรืออินบ๊อกมาได้เลย

 

รายละเอียดคอร์สเรียนฟรีไดฟ์คลิกที่นี่

คอร์สเรียนดำน้ำ Freediver

 

รายละเอียดคอร์สเรียนสกูบ้าคลิกที่นี่

หลักสูตรเรียนดำน้ำลึกขั้นต้น (Open Water)

 

อ่านบทความต่างๆ คลิกที่นี่

https://www.zanookdive.com/blog/

 

#ฟรีไดฟ์ #เรียนฟรีไดฟ์ #ฟรีไดฟ์วิ่ง #ฟรีไดฟ์กรุงเทพฯ #กลั้นหายใจ #apnea #holdyourbreath #freedive #freediving #freediver #freedivebangkok #ดำน้ำ #เรียนดำน้ำ #เรียนถ่ายภาพใต้น้ำ #เรียนครบจบที่เดียว #ssifreediving #basicfreediver #zanookdive #zanookfreedive #ดำน้ำแสมสาร