รีวิวไดฟ์คอมพิวเตอร์ CREST CR-4
รีวิวไดฟ์คอมพิวเตอร์ CREST CR-4
มาแล้วจ้า รีวิวการใช้งานไดฟ์คอมพิวเตอร์ CREST CR-4 หลังจากที่เอาไปทดสอบการใช้งานทั้งแบบสกูบ้าและฟรีไดฟ์ในทริปที่ผ่านมา
การใช้งานฟรีไดฟ์ (Freedive) ก่อนอื่นเรามารู้กันก่อนว่าเวลาเราใช้ไดฟ์คอมพิวเตอร์เพื่อฟรีไดฟ์นั้นเราดูที่อะไรบ้าง
- ความลึก (Depth)
หลายๆ คนอยากจะรู้ว่าตัวเองลงไปได้ลึกเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้ดูว่าเราพัฒนาไปถึงไหนแล้วในการดำแต่ละครั้ง และทำให้เราสามารถเก็บสถิติของตัวเองไว้ได้เพื่อต่อยอดในการดำฟรีไดฟ์ที่ระดับสูงขึ้น หรือคนที่เทรนนิ่งบ่อยๆ ก็ต้องการทราบอยู่แล้วว่าเราจะลงไปได้ลึกเท่าไหร่
- เวลาที่อยู่ใต้น้ำ (Bottom time or Dive time)
ในเมื่อเราเรียนกลั้นหายใจมาแล้ว เราก็คงอยากจะรู้ว่าเวลาเราอยู่นิ่งๆ กับเวลาเราลงไปตีฟินอยู่ใต้น้ำ เราจะสามารถกลั้นหายใจอยู่ได้นานเท่าไหร่กันน้า โดยเฉพาะคนที่เทรนนิ่งบ่อยๆ เค้าก็ต้องจับเวลาที่ใช้ในการวอร์มอัพ MDR และคอยดูสถิติตัวเองตอนฝึกอยู่บ่อยๆ ด้วย เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลในการพัฒนาตัวเอง
- เวลาที่อยู่ผิวน้ำ หรือเวลาพักน้ำ (Surface interval time) ซึ่งเวลาที่พักน้ำนี้ควรจะเป็น 3 เท่าของเวลาที่อยู่ใต้น้ำเพื่อให้ร่างกายสามารถรีโคเวอร์รี่ก๊าซอ๊อกซิเจนให้กลับมาอยู่ในปริมาณที่ไม่อันตรายหรือเสี่ยงต่อการ Black out หรือ Hypoxia นอกจากนี้หากร่างกายมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป จะอยู่ในสภาวะ Hypercapnia ได้ด้วยดังนั้น เวลาพักน้ำจึงสำคัญในการดำฟรีไดฟ์ค่ะ
ในส่วนของการใช้งานของสกูบ้า (Scuba) นั้นจะมีตัวแปรที่ 4 เพิ่มขึ้นมานั่นคือ No Decompression Limit (NDL หรือ NDC) ที่เป็นเวลาที่เราจะต้องคอยระวังไม่ให้อยุ๋ใต้น้ำจนเกิน NDL เพราะจะทำให้เสี่ยงเป็นโรค Decompression Sickness ได้นะจ๊ะ
เนื่องจากเราใช้ไดฟ์คอมพิวเตอร์ (Dive computer) ยี่ห้อ Aqualung รุ่น i-200 มานานเกือบ 2 ปี แล้ว เพราะมันสะดวกดี คนข้อมือเล็กๆ อย่างเราใส่แทนนาฬิกาก็ได้ และค่อนข้างแม่นยำกับค่าที่สำคัญๆ ที่ใช้ในการดำน้ำ เราก็เลยทดสอบ CREST C4 โดยการเอาลงไปดำน้ำพร้อมกับ Aqualung i-200 จ้า
มาดูผลลัพธ์กันเลย
- ความลึก : จากการดำทั้งฟรีไดฟ์ (Freedive) และสกูบ้า (Scuba) พบว่าคอมพิวเตอร์ทั้งสองตัวอ่านค่าต่างกันแค่ประมาณ 0.1 เมตร ถือว่าใกล้เคียงกันมากๆ นะจ๊ะ
- Dive time : sensor ของไดฟ์คอมพิวเตอร์เริ่มทำงานพร้อมๆ กัน เวลาที่อยู่ใต้น้ำจึงเท่ากัน
- Surface interval time: จากการดำฟรีไดฟ์ Crest C4 จะเริ่มนับ Surface interval time ช้ากว่า Aqualung i-200 5 วินาที (ดูจากในรูป)
- No decompression limit (NDL) อันนี้ลืมถ่ายรูปมา แต่เมื่อเอาไดฟ์คอมพิวเตอร์ทั้งสองตัวไปดำน้ำพร้อมๆ กันหลายไดฟ์ และเทียบกันแล้ว มีค่า NDL ใกล้เคียงกัน เป็นที่น่าพอใจ
ข้อมูลด้านอื่นๆ
- แบตเตอรี่: ในปัจจุบันจะมีไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทั้งแบตเตอรี่แบบ Non-Rechargable และแบบ Rechargeable
ยี่ห้อที่เราเคยลองเอาไปใช้ทำงาน และดำน้ำแบบ Liveaboard ได้แก่
- Non-rechargeable battery: Suunto Zoop, Suunto D4i, Suunto D4iNOVO, Cressi (จำชื่อรุ่นไม่ได้), Aqualung i-200
- Rechargeable battery: Deep Blue, Garmin MK1, Suunto D5, Crest C4
ความประทับใจสุดๆ คือ Crest C4 เป็นไดฟ์คอมพิวเตอร์ยี่ห้อเดียวที่เราเคยเอาไปใช้ในทริป Liveaboard 4 วัน ได้ครบทั้ง 15 ไดฟ์ แบบไม่ต้องชาร์จ แต่ละไดฟ์เราลงไม่ต่ำกว่า 50 นาที นั่นหมายความว่า เราไม่ต้องเอาไดฟ์คอมเปียกๆ มาเช็ดให้แห้งเพื่อชาร์จระหว่างวัน และไม่ต้องกังวลว่าจะลืมชาร์จรึเปล่า เพราะถ้าแบตหมดใต้น้ำก็จบกัน และเคยมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับเรามาแล้ว ทำให้เราเข็ดกับการใช้ไดฟ์คอมแบบต้องคอยชาร์จในการทำงาน เพราะเราดำน้ำทุกวัน บางทีไม่ได้คิดถึงเรื่องที่ต้องมาคอยชาร์จไดฟ์คอมพิวเตอร์ทุกวัน ความง่ายต่อการต่อสายชาร์จก็ดีนะ มีตัวคลิปแม่เหล็กต่อกับขั้วชาร์จ และใช้สาย Mini USB ที่สามารถหาได้ทั่วไป
2. หน้าจอ
CREST CR-4 เป็นหน้าจอแบบ Black light สว่างตลอดเวลาที่อยู่ใต้น้ำ การมองเห็นชัดมาก และทำให้มีความสะดวกมากในการดำไนท์ไดฟ์ เพราะไม่ต้องคอยมากดไฟหน้าจอให้เปิด ใครที่ต้องคอยใช้สองมือในการถือกล้อง จะชอบมากเวลาถ่ายรูปมาโคร
3. การปรับค่า % Oxygen และ PPO2
CREST CR-4 สามารถปรับได้ตามปกติเหมือนไดฟ์คอมพิวเตอร์ยี่ห้ออื่นๆ และมีค่า NDL ใกล้เคียงกับ Aqualung i-200
4. การเก็บข้อมูลความจำ Log dive
ตามข้อมูลทางเทคนิค CREST CR-4 สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 200 ไดฟ์ แต่ ณ ปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถลิงก์กับ Application เพื่อถ่ายเทข้อมูลลงในมือถือได้ ซึ่งเอาจริงๆ เราก็ไม่ค่อยได้ทำหรอกนะ แต่ก็ยังสามารถดู Dive profile ในตัวไดฟ์คอมพิวเตอร์ได้เหมือนรุ่นอื่นๆ
สรุปคือ หากใครที่เพิ่งเริ่มต้นดำน้ำ แล้วกำลังมองหาไดฟ์คอมพิวเตอร์ราคาไม่แพง แต่ได้ฟังก์ชั่นการใช้งานดำน้ำครบทั้งแบบฟรีไดฟ์ (Freedive) และสกูบ้า (Scuba) CREST C4 ไดฟ์คอมพิวเตอร์สัญชาติไต้หวันตัวนี้ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจมากค่ะ สามารถใส่เป็นนาฬิกาได้ คนที่มีข้อมือเล็กมากก็ใส่ได้นะคะ
สามารถดูข้อมูลวิธีการใช้งาน และรีวิวแบบ VDO ฉบับเต็มได้ที่นี่ค่า Review CREST CR4
ข้อมูลท่างเทคนิคเพิ่มเติม https://www.crestdiving.com/dive-computer
ราคา CREST CR-4
- ราคาปกติ 8,990 บาท
สนใจเรียนฟรีไดฟ์หรือสกูบ้าแอดไลน์ @zanookdive ได้เลยจ้า
#ฟรีไดฟ์ #เรียนฟรีไดฟ์ #ฟรีไดฟ์วิ่ง #ฟรีไดฟ์กรุงเทพฯ
#กลั้นหายใจ #apnea #holdyourbreath #freedive #freediving #freediver #freedivebangkok #ดำน้ำ #เรียนดำน้ำ #เรียนถ่ายภาพใต้น้ำ #เรียนครบจบที่เดียว #ssifreediving #basicfreediver #zanookdive #zanookfreedive #สอนฟรีไดฟ์ #ฟรีไดฟ์ใกล้บ้าน #FreedivingInBangkok